ตู้ MDB คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง ?

ตู้MDB

ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาด หอพัก หรือห้างสรรพสินค้า หรือสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก จะต้องมีตัวควบคุมสำหรับการใช้ไฟฟ้าด้วยเสมอ ที่เราเรียกกันว่า ตู้ MDB หรือ (Main Distribution Board) ซึ่งหน้าที่หลักของตู้ที่ทุกคนเข้าใจก็คือ ทำหน้าที่ในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ที่ถูกควบคุม และจ่ายไฟให้กับส่วนต่างๆ ของสถานที่นั้น

อันนี้เป็นตัวอย่างการทำงานคร่าวๆ ของตู้ไฟ เดี๋ยวเราจะมาดูวัตถุประสงค์หลักของตู้ชนิดนี้กันต่อว่ามีอะไรบ้าง เพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้นถึงหน้าที่ในการทำงาน

ตู้MDB

หน้าที่หลักของ ตู้ MDB

1.จ่ายกำลังไฟฟ้า

ถือว่าเป็นหน้าที่หลักของตู้ควบคุมเลยก็ว่าได้ ซึ่งการจะแจกจ่ายได้ ตู้ควบคุมก็จะรับกระไฟฟ้าจากด้านนอกก่อน นั่นก็คือจากการไฟฟ้า และไฟฟ้าที่ถูกส่งมาจากการไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นไฟฟ้าแรงสูงที่มีกำลังแรงดันอยู่ที่ 380 โวลต์ ซึ่งเป็นกำลังไฟฟ้าที่เราไม่สามารถใช้งานได้ก่อน นอกจากจะเอามาลดแรงดันให้เหมาะสม นั่นก็คือทำการลดแรงดันให้เหลืออยู่ที่ 220 โวลต์ก่อน

และการทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าของตู้ไปยังส่วนต่างๆ ในสถานที่นั้น จะสั่งการผ่านทางอุปกรณ์ที่ถูกติดตั้งเอาไว้ในตู้ เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ หรือสวิตซ์แยก เป็นต้น

2.ป้องกันระบบไฟฟ้า

ในการใช้งานเกี่ยวกับไฟฟ้าย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายขึ้นได้เสมอ ดังนั้นตู้ไฟจะทำหน้าที่ในการควบคุม และป้องกันระบบไฟฟ้าทุกอย่างให้มีวคามปลอดภัยในการใช้งานมากกขึ้น ปัญหาหลักๆ ที่พบเจอก้คือ ไฟฟ้าลัดวงจร การใช้โหลดมากเกินไฟ ไฟฟ้าตก หรือไฟฟ้าเกิน การเกิดไฟรั่ว เป็นต้น ซึ่งตู้ควบคุมจะทำหน้าที่ตัดการทำงานทันที เมื่อมีความผิดปรกติ เพื่อเป็นการลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

3.แสดงการทำงาน

ในส่วนของหน้า ตู้ MDB จะมีการแสดงผลการทำงานของระบบต่างๆ ในสถานที่ที่เราใช้ อย่างเช่นในโรงงาน ว่ามีการใช้กระแสไฟฟ้าเท่าไหร่ แรงดันเท่าไหร่ อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานปรกติหรือไม่ ซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะมาแสดงผลให้ทราบที่หน้าตู้ได้ทันที หากเกิดข้อผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น ผู้ดูแลก็จะทราบได้ทันที พร้อมทั้งหาทางแก้ปัญหา

สำหรับข้อมูลที่ต้องมีเลยก็คือ ระดับแรงดัน, กระแสไฟฟ้า, ความถี่. กำลังไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนข้อมูลอื่นก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานจะเลือกใส่อุปกรณ์อะไรเข้าไปบ้าง

4.ระบบไฟสำรอง

ระบบไฟสำรองเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการใหญ่ๆ หากไฟตกหรือไฟดับ อาจจะเกิดความเสียหายได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายเหล่านี้ ตู้ควบคุมไฟฟ้า จึงต้องมีการควบคุมระบบไฟสำรองให้ทำงานได้ทันทีหากเกิดข้อผิดพลาด โดยจะทำการเปลี่ยนแปล่งจ่ายอัตโนมัติในทันทีหากเกิดไฟฟ้าดับขึ้น จนกว่าไฟฟ้าหลักจะกลับมาเป็นเหมือนเดิม ระบบถึงจะกลับมา

สำหรับตัวอย่างการสั่งการทำงานของระบบไฟสำรองก็ได้แก่ การสั่งให้อุปกรณ์สั่งงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อมีไฟฟ้าดับ โดยการใช้อุปกรณ์คอนโทรลเลลอร์ในตู้ เป็นตัวสั่งการทำงาน

ทั้งหมดนี้ก็เป็นหน้าที่หลักๆ ของ ตู้ MDB ที่ใช้กัน อย่างไรก็ตามหากเราเป็นแค่ผู้ใช้อย่างเดียว ไม่ได้เข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของระบบอย่างแท้จริง หากเกิดปัญหาใดๆ หรือสงสัยอะไร ให้ปรึกษากับช่างที่มีประสบการณ์เท่นั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายของระบบ เพราะว่าหากเสียหายขึ้นมาก อาจจะเป็นความเสียหายที่สูงก็ได้

About the Author

You may also like these